เซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยว ทำหน้าที่อะไร อาการเมื่อเซ็นเซอร์เสียเป็นอย่างไร

เซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยว คืออะไร ทำหน้าที่อะไร

การทำงานของเครื่องยนต์ในรถคันๆหนึ่ง ประกอบไปด้วยหลายชิ้นส่วนอะไหล่ เซ็นเซอร์ในระบบเครื่องยนต์อีกตัวหนึ่งที่ทำงานควบคู่ไปกับเซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง ที่มีหน้าที่หลักในการส่งสัญญาณการทำงานไปยังกล่อง ECU นั่นก็คือ เซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยว สำหรับผู้ใช้รถเองที่ต้องการมีความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับชิ้นส่วนนี้ ว่ามีหน้าที่อะไร อาการเมื่อเสียจะส่งผลต่อเครื่องยนต์อย่างไร วันนี้จะพาไปรู้จักกัน

 เซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยวหน้าที่

เซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยว เพลาราวลิ้น หรือ Camshaft Positioning Sensor – CMP ทำหน้าที่ตรวจจับการหมุนของเพลาลูกเบี้ยว โดยส่วนที่เป็นแม่เหล็กของเซ็นเซอร์ตัวนี้ จะสร้างสนามแม่เหล็กเมื่อเครื่องยนต์ทำงานผ่านการหมุนของเพลาลูกเบี้ยว (เพลาลูกเบี้ยวมีหน้าที่ควบคุมการเปิดปิดของวาล์ว) ตัวเซ็นเชอร์นี้ก็จะส่งค่าสัญญาณตำแหน่งการหมุนของเพลาราวลิ้นนี้ไปยังกล่อง ECU เพื่อกำหนดการจ่ายน้ำมันในแต่ละสูบ และ ควบคุมการจุดระเบิดในเวลาที่ถูกต้องอีกด้วย โดยตำแหน่งของมันจะอยู่บริเวณหน้าหรือด้านบนของเครื่องยนต์ บริเวณปลายฝาสูบตรงปลายเพลาลูกเบี้ยว

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อเซ็นเซอร์เสีย

อย่างที่อธิบายมาเบื้องต้น การทำงานหลักของ CMP จะมีหน้าที่กำหนดการจ่ายน้ำมันในแต่ละสูบ หากเกิดความเสียหายของเซ็นเซอร์แคมชาร์ปจะทำให้ระบบนี้มีปัญหา เนื่องจากตัวเซ็นเซอร์ไม่สามารถรับรู้ได้ว่าวาล์วตัวไหนเปิดหรือปิดอยู่ จึงทำให้ระบบไม่สามารถสั่งการหัวฉีดในการจ่ายน้ำมันในช่วงเวลาที่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อเซ็นเซอร์เสียจะทำให้มีโอกาสที่จะทำให้เครื่องยนต์มีปัญหาตามมาได้ นอกจากนี้ยังอาจจะมีอาการอื่นๆ โดยผู้ขับรถเองสามารถสังเกตได้โดยสรุป ดังนี้

เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง เสีย อาการ

  1. ไฟรูปเครื่องยนต์แสดงแล้วดับไปเมื่อเครื่องติดขับต่อได้ เครื่องยนต์มีอาการกระตุกดับแล้วกระตุกติดทันที เนื่องจากเซ็นเซอร์วัดค่าที่ไม่ถูกต้องส่งไปยัง ECU
  2. การสตาร์ทเครื่องยนต์ไม่เป็นปกติ อาจใช้เวลานานกว่าปกติในการสตาร์ทรถ เครื่องยนต์สตาร์ทไม่ติดขณะเครื่องร้อน หรือ สตาร์ทติดแล้วดับทันที
  3. เร่งไม่ขึ้น เหยียบคันเร่งแล้วเครื่องยนต์มีรอบและแรงบิดผิดจากปกติ

อาการเหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้นที่ผู้ขับขี่เองสามารถสังเกตุอาการเองได้ อย่างไรก็ตามควรจะนำรถเข้าอู่ซ่อมรถยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญ โดยในส่วนของช่างซ่อมรถเองนั้นจะใช้เครื่อง OBD II (Diagnostic Trouble Code) อ่านค่าจากรหัสที่ขึ้นว่าเซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยงมีอาการผิดปกติอย่างไร โดยมีรหัสและความหมายดังต่อไปนี้

เซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยว เสีย

  • P0340 วงจรเซ็นเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว “A” (แบงค์ 1 หรือ สัญญาณเซ็นเซอร์)
  • P0341 การทำงานวงจรเซ็นเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว “A” (แบงค์ 1 หรือ สัญญาณเซ็นเซอร์)
  • P0342 วงจรเซ็นเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว “A” (แบงค์ 1 หรือ สัญญาณเซ็นเซอร์) ต่ำ
  • P0343 วงจรเซ็นเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว “A” (แบงค์ 1 หรือ สัญญาณเซ็นเซอร์) สูง
  • P0344 วงจรเซ็นเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว “A” (แบงค์ 1 หรือ สัญญาณเซ็นเซอร์) ขาดช่วง
  • P0345 วงจรเซ็นเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว “A” (แบงค์ 2)
  • P0346 การทำงานวงจรเซ็นเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว “A” (แบงค์ 2 หรือ สัญญาณเซ็นเซอร์)
  • P0347 วงจรเซ็นเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว “A” (แบงค์ 2 หรือ สัญญาณเซ็นเซอร์) ต่ำ
  • P0348 วงจรเซ็นเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว “A” (แบงค์ 2 หรือ สัญญาณเซ็นเซอร์) สูง
  • P0349 วงจรเซ็นเซอร์ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยว “A” (แบงค์ 2 หรือ สัญญาณเซ็นเซอร์) ขาดช่วง

กล่าวโดยสรุป การทำงานของ เซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยว นั้นมีความสำคัญในการจ่ายน้ำมันในแต่ละสูบ และ ควบคุมการจุดระเบิด หากผู้ใช้รถเองเจอปัญหาการสตาร์ทรถติดขัดหรือดับกลางอากาศ อาจสันนิษฐานว่าเป็นอาการเสียจากเซ็นเซอร์ตัวนี้ได้หรืออาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ จึงควรให้ช่างผู้มีความเชี่ยวชาญตรวจสอบโดยใช้เครื่อง OBD 2 ตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุการเสียหายที่แท้จริง จึงค่อยตัดสินใจเลือกซื้ออะไหล่เพื่อมาซ่อมแซมให้ถูกจุด

6 thoughts on “เซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยว ทำหน้าที่อะไร อาการเมื่อเซ็นเซอร์เสียเป็นอย่างไร

  1. Ataset Prapawicha says:

    ขอบคุณมากครับ ข้อมูลเป็นปประโยชน์มาก รายละเอึยดครบถ้วนสมบูรณ์ นับถือครับ ขอบคุณครับ

  2. Kantharo says:

    ขอบคุณมากๆครับเป็นประโยชน์มากๆครับ
    Web อื่นๆควรเอาเป็นแบบอย่าง

Comments are closed.