เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง ทำหน้าที่อะไร อาการเมื่อเซ็นเซอร์เสียเป็นอย่างไร

เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง

เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง คืออะไร ทำหน้าที่อะไร

การทำความรู้จักกับชิ้นส่วนอะไหล่ต่าง ๆ ในรถยนต์จะช่วยให้ตัวผู้ขับขี่เองนั้นเอง สามารถสังเกตุอาการเมื่อรถยนต์มีความผิดปกติ อาจจะไม่ได้จำเป็นต้องเชี่ยวชาญเสมือนช่าง แต่การทำความรู้จักข้อมูลพื้นฐานก็นับว่าเป็นทักษะที่ดีเบื้องต้น ที่จะนำไปใช้เป็นสมมติฐาน เมื่อเกิดเหตุคับขันในเวลารถยนต์มีปัญหา หนึ่งในอุปกรณ์รถยนต์ที่อยากแนะนำให้รู้จัก คือ เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง สำหรับคนที่ไม่ได้เป็นช่างอาจเกิดคำถามมากมายว่ามันคืออะไรกันแน่ มีอุปกรณ์แบบนี้อยู่ในรถด้วยหรือ มาทำความรู้จักไปพร้อมกันเลย

เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง หน้าที่ ตำแหน่ง

เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง หรือ Crankshaft Positioning Sensor – CKP คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งที่ใช้เป็นตัวเซ็นเซอร์วัดระบบการเผาไหม้เครื่องยนต์ทุกรูปแบบไม่ว่ารถจะใช้น้ำมันแบบใดก็ตาม โดยเซ็นเซอร์จะตรวจสอบตำแหน่งกับรอบความเร็วในการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยง หรือ วัดการทำงานของแรงดันฮอลล์ (Hall Voltage) จากการทำงานของข้อเหวี่ยงที่หมุน ส่งต่อไปยังกล่องควบคุมเครื่องยนต์ (ECU) เพื่อที่จะใช้ค่านี้กำหนดปริมาณการฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง จังหวะเวลาในการฉีด และควบคุมการจุดระเบิด โดยตำแหน่งเซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง อยู่บริเวณด้านหน้าของเครื่องยนต์ โดยส่วนใหญ่อยู่บริเวณฝาหน้าเครื่องยนต์ บริเวณด้านล่างใกล้กับเพลาข้อเหวี่ยง

นอกจากนี้แล้วอุปกรณ์ชนิดนี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับเซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยว เพื่อตรวจสอบการทำงานให้มีความสัมพันธ์กันระหว่างลูกสูบกับวาล์วในตัวเครื่องยนต์ อันถือเป็นเรื่องสำคัญมากกับประเภทเครื่องยนต์ที่มีจังหวะของวาล์วแปรปรวน อีกทั้งวิธีดังกล่าวยังใช้สำหรับซิงโครไนซ์เครื่องยนต์แบบ 4 จังหวะตอนเริ่มต้นเพื่อให้อุปกรณ์อื่น ๆ รู้ว่าเวลาไหนควรจะเริ่มอัดฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ใช่แค่นี้เพราะยังทำหน้าที่เป็นตัวเริ่มต้นสำหรับวัดความเร็วรอบเครื่องยนต์ต่อนาทีด้วย นั่นจึงทำให้เห็นว่า เซ็นเซอร์ข้อเหวี่ยง ถือเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมากในระบบเครื่องยนต์ไม่ว่าจะระบบเบนซินสำหรับการจุดระเบิด และ ระบบดีเซลสำหรับการอัดฉีดน้ำมันเชื้อเพลิง

อาการที่เกิดขึ้นเมื่อเซ็นเซอร์เสีย

อย่างที่อธิบายมาเบื้องต้น การทำงานหลักของ CKP จะมีหน้าที่กำหนดค่าการจุดระเบิดของระบบการทำงานของเครื่องยนต์ให้สามารถสตาร์ทติดและขับเคลื่อนไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากเซ็นเซอร์นี้มีความเสียหายขึ้นมา นั้นหมายความว่า จะไม่มีระบบที่บอกตำแหน่งของลูกสูบ อาการที่เกิดคือ รถส่วนใหญ่จะไม่สามารถสตาร์ทติด แต่ก็มีรถบางคันที่แม้จะสตาร์ทติดได้ ทว่าพอขับไปสักพักอยู่ดี ๆ รถก็ดับกลางอากาศ เมื่อไหร่ก็ตามที่รถของคุณมีอาการตามที่กล่าวไป จะตั้งข้อสังเกตได้ว่าอาจเกิดจากเซ็นเซอร์ตัวนี้ที่มีปัญหาก็ได้ นอกจากนี้ยังอาจจะมีอาการอื่นๆ โดยผู้ขับรถเองสามารถสังเกตได้โดยสรุป ดังนี้

เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง เสีย อาการ

  1. ไฟรูปเครื่องยนต์แสดง แล้วดับไปเมื่อเครื่องติดขับต่อได้ เครื่องยนต์มีอาการกระตุกดับแล้วกระตุกติดทันที เนื่องจากเซ็นเซอร์วัดค่าที่ไม่ถูกต้องส่งไปยัง ECU
  2. เร่งไม่ขึ้น เหยียบคันเร่งแล้วเครื่องยนต์มีรอบและแรงบิดผิดจากปกติ
  3. เครื่องสั่นขณะขับ หรือมีเสียงรีเลย์ดังใต้คอนโซลขาขวาคนขับ เนื่องจากกล่องECU สั่งเครื่องดับกลางอากาศขณะขับ ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากการที่เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยงไม่ส่งค่าใดๆไปให้กล่องเลย

อาการเหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้นที่ผู้ขับขี่เองสามารถสังเกตุอาการเองได้ อย่างไรก็ตามควรจะนำรถเข้าอู่ซ่อมรถยนต์ที่มีความเชี่ยวชาญ โดยในส่วนของช่างซ่อมรถเองนั้นจะใช้เครื่อง OBD II (Diagnostic Trouble Code) อ่านค่าจากรหัสที่ขึ้นว่าเซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยงมีอาการผิดปกติอย่างไร โดยมีรหัสและความหมายดังต่อไปนี้

เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง เสีย รหัส cbd2

  • P0016 ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง – ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยวสัมพันธ์กัน (แบงค์ 1 เซนเซอร์ A)
  • P0017 ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง – ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยวสัมพันธ์กัน (แบงค์ 1 เซนเซอร์ B)
  • P0018 ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง – ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยวสัมพันธ์กัน (แบงค์ 2 เซนเซอร์ A)
  • P0019 ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง – ตำแหน่งเพลาลูกเบี้ยวสัมพันธ์กัน (แบงค์ 2 เซนเซอร์ B)
  • P0315 ระบบตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยงไม่ผันแปรตามค่ากำหนด
  • P0335 วงจรเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง “A”
  • P0336 การทำงานวงจรเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง “A”
  • P0337 วงจรเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง “A” ต่ำ
  • P0338 วงจรเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง “A” สูง
  • P0339 วงจรเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง “A” ขาดช่วง
  • P0386 การทำงานวงจรเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง “B”
  • P0387 วงจรเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง “B” ต่ำ
  • P0388 วงจรเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง “B” สูง
  • P0389 วงจรเซนเซอร์ตำแหน่งเพลาข้อเหวี่ยง “B” ขาดช่วง

การทำงานของ เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง นั้นมีความสำคัญอย่างมากในระบบเครื่องยนต์ และมักจะไม่เสียหายกันง่าย ๆ บางครั้งรถที่สตาร์ทไม่ติดหรือดับกลางอากาศอาจมาจากสาเหตุอื่น ๆ จึงควรให้ช่างผู้มีความเชี่ยวชาญตรวจสอบ จนเกิดความมั่นใจอีกครั้งว่าสาเหตุที่เกิดขึ้นของอาการผิดปกตินั้นมาจากอะไร จึงค่อยตัดสินใจเลือกซื้ออะไหล่เพื่อมาซ่อมแซมให้ถูกจุด

7 thoughts on “เซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง ทำหน้าที่อะไร อาการเมื่อเซ็นเซอร์เสียเป็นอย่างไร

  1. น้ำเต้า says:

    อิซูซุ คอม่อนเรลปี 2005 เปลี่ยนเช็นเชอร์เพลาข้อเหวี่ยงแล้วพอขับสักพักไฟเครื่องโชว์ ดับเครื่อง แล้วสตาร์ทไม่ติด พอจอดสักพักมาสตาร์ทติดได้ เป็นสาเหตุอะไรครับ งง เอาช่างมาเช็คเขาบอกตัวเช็นเชอร์เพลาข้อเหวี่ยงเสีย (เปลี่ยน2ครั้งแล้วราคา1200) ช่างบอกว่าไม่ใช่ของแท้ แต่ร้านบอกของแท้ครับ รบกวนผู้รู้ช่วยแนะหน่อยครับ

  2. กิตติ says:

    ของผมโตโยต้าวิช ขับเครื่องร้อนแล้วดับเครื่องกลับมาสตาร์ทใหม่ ไม่ติดติดยากต้องรอจนกว่าเครื่องเย็นถึงจะติดได้ ตอนเช้าสตาร์ททีเดียวติดง่ายมาก แต่ถ้าเครื่องร้อนเมื่อไหร่ ดับเครื่องยนตร์ไม่ได้เลยครับ เกิดจากอะไรครับผม

  3. ชลอ says:

    ขอถามหน่อยครับ รถผม มาสด้าบีที50ปี06 เข็มวัดรอบเครื่องยนต์ บางทีก็ขึ้นบางทีก็ไม่ขึ้น เกิดจากเซ็นเซอร์หัวหมูเสีย หรือเกิดจากตัวใหนเสีย ขอคำแนะนำครับ

  4. นัด says:

    สตาทติดแล้วขับต่อได้มั้ยครับถ้าเรายังหาซื้อเซนเซอร์มาเปลี่ยนไม่ได้

Comments are closed.